Archive | April, 2011

clayhouse2

คอร์สอบรมทำบ้านดิน กับ โจน จันใด

Posted on 20 April 2011 by deksiam

คอร์สอบรมทำบ้านดิน กับ โจน จันใด

สร้างพิพิธภัณฑ์ดิน วัดบัวนาค บ้านแม่โจ้ เชียงใหม่
โดย โจน จันใด + วิทยากรบ้านดินและชาวบ้านบ้านแม่โจ้
วันที่ 20 -23 พฤษภาคม 2011

* เรียนรู้การสร้างบ้านดินทุกขั้นตอน โดยเทคนิคก้อนดินดิบ (Adobe House)

ที่พัก
ค้างคืนแบบโฮมสเตย์ ที่บ้านแม่โจ้

ค่าเข้าร่วม 3,500 บาท
– ค่าเข้าร่วม 3,500 บาท เป็นค่าที่พัก (3 คืน) ค่าอาหาร ค่าวิทยากร (ไม่รวมค่าเดินทาง)
– เงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายต่างๆ บริจาคเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ให้กับพิพิธภัณฑ์
– นักเรียน นักศึกษา ผู้มีรายได้น้อย ที่สนใจอยากเรียนรู้ อย่าลังเลติดต่อขอทุนที่ punpun.farm@gmail.com
– รับผู้เข้าร่วมจำนวน 40 คน

การเดินทาง
– จากกรุงเทพ ขึ้นรถทัวร์กรุงเทพ-เชียงใหม่(ท่าตอน) ยี่ห้อนิววิริยะยานยนต์รอบ 19:45 ลงที่ปากทางเขื่อนแม่งัด อ.แม่แตง ประมาณ 6.00น. ทีมงานจัดรถสองแถวรับเข้าสวนพันพรรณ (วันที่ 20 พฤษภาคม 2554)
– จากเชียงใหม่ ขึ้นรถสองแถวเชียงใหม่-แม่แตง ลงที่ปากทางเขื่อนแม่งัด ต่อสามล้อเข้าบ้านแม่โจ้ (วันที่ 20 พฤษภาคม 2554)
– ขากลับ ออกจากบ้านแม่โจ้ด้วยรถสองแถว ถึงตัวเมืองเชียงใหม่ช่วงบ่าย (วันที่ 23 พฤษภาคม 2554)

ติดต่อสอบถามและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่  punpun.farm@gmail.com
0875761102 (ชนินทร์) 0891603588 (นภา)

facebook : Pun Pun Organic Farm
www.punpunthailand.org

“การ อยู่บ้านดินเป็นการทำสงคราม สงครามครั้งแรกคือสงครามกับใจตัวเอง เพราะปกติถ้าคนเราทำอะไรแล้วเหนื่อยเรา ก็จะหยุด อยากพัก อยากเลิก แต่การทำบ้านดินนี่เหนื่อยแต่มันส์ เลยจากความเหนื่อยคือความเบาสบาย แต่คนส่วนใหญ่เวลาเหนื่อยก็จะหยุดรวมทั้งผมด้วยเมื่อก่อน ก็เลยไม่หลุดพ้นจากความเหนื่อยเพื่อจะพบกับความเบาสบาย

ต่อมาก็คือสงครามกับโลก จริงๆ แล้วตอนนี้เราตกอยู่ในภาวะของสงคราม แต่ก่อนยกปืนไปฟาดฟันกันใครชนะก็จะกวาดต้อนอีกฝ่ายไปเป็นทาส แต่ทุกวันนี้กลับไม่เป็นเช่นนั้น ระบบทาสเปลี่ยนไป ไม่มีใครรู้เลยว่าเราเป็นทาส บางคนยังเพลิดเพลินกับความร่ำรวยที่ตัวเองหามาได้ แล้วใช้จ่ายอย่างมหาศาล บางคนเข้าห้างสรรพสินค้า ซื้อมากๆ ก็ยิ่งดี หลงภูมิใจว่าตัวเองมีเงินซื้อของเยอะ แต่นั้นเป็นทาสยุคใหม่ ทำให้คนเราอยู่ในภาวะที่ทุกข์ทรมาน แต่รู้สึกว่าเหมือนไม่ทุกข์ทรมาน ทำให้เราต้องทำงานมาก ทำให้เรารู้สึกว่าการทำงานมากเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ซึ่งจริง ๆ แล้วเราเป็นสัตว์ที่ผิดปกติที่สุดในโลกยุคนี้ เพราะประวัติศาสตร์มนุษย์ โลก ไม่มีอีกแล้วที่จะทำงานกันวันละ 8 ชั่วโมง เหมือนที่เรากำลังทำกันอยู่ในขณะนี้ เราจะรู้สึกอหังกาไม่ได้ว่าเราเป็นมนุษย์ที่เจริญที่สุด เพราะเราทำงานมากที่สุด จริงๆ เราคือมนุษย์โง่ที่สุด
– โจน จันใด

Comments (1)

ปฏิบัติการสร้างสรรค์คนดนตรี TK Band ปี 2

Posted on 20 April 2011 by deksiam

ปฏิบัติการสร้างสรรค์คนดนตรี TK Band ปี 2

อุทยานการเรียนรู้ TK park เปิดโอกาสให้เยาวชนคนดนตรีได้เรียนรู้ทักษะในการเล่นดนตรี การแต่งเพลง การผลิตผลงาน การแสดงดนตรี และเป็นเวทีให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ลงมือปฏิบัติในสนามธุรกิจจริง นำทีมถ่ายทอดประสบการณ์ โดย พี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง และนักดนตรีมืออาชีพอีกเพียบ

รับสมัครเยาวชนอายุ 15 – 25 ปี ที่มีใจรักดนตรี ไม่จำกัดรูปแบบ กรอกใบสมัครพร้อมรูปถ่าย บอกเล่าประสบการณ์หรือความผูกพันที่มีต่อดนตรี แล้วส่งมาที่ tkband@tkpark.or.th หรือโทรสาร 02-257-4332 หรือส่งใบสมัครด้วยตนเองที่ อุทยานการเรียนรู้ TK park

รับสมัครแล้ววันนี้ – 25 เม.ย. 54 (จำนวนจำกัดเพียง 80 ท่าน)
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-257-4300
(คุณเปรม หรือ คุณฮาส) ดาวน์โหลดใบสมัคร Download

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่่ www.facebook.com/tkband

สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อนกับโปรโมชั่นสุดพิเศษ TK park

อุทยานการเรียนรู้ TK park ขอมอบโปรโมชั่นสมัครสมาชิกสุดพิเศษ ตอกย้ำความเป็นต้นแบบแห่งสวนสนุกทางปัญญา

• สมัครสมาชิกใหม่ สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 0-25 ปี ในราคาพิเศษจากเดิม 100 เหลือเพียง 70 บาท

• สมัครสมาชิกใหม่ สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 26-60 ปี ในราคาพิเศษจากเดิม 200 เหลือเพียง 150บาท

• โปรโมชั่น “Family Package : เรียนรู้กันยกครัว” สมัครสมาชิกใหม่ 3 ท่าน รับทันที!! คูปองสมัครสมาชิก TK park ฟรี 1 ใบ

ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิ.ย. 54 เท่านั้น

* กรุณานำบัตรประจำตัวประชาชนมาเพื่อใช้ในการสมัครสมาชิก

(เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้เลข 13 หลัก ที่ระบุไว้ในทะเบียนบ้าน)

** ท่านที่เป็นสมาชิก TK park จะได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมก่อนใคร พร้อมรับส่วนลดและสิทธิประโยชน์พิเศษมากมาย จากร้านค้า และองค์กรเครือข่ายพันธมิตร TK park

*** ขอสงวนลิขสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

 

 

 

Comments (0)

invitation

Tags:

Active Citizen : พลเมืองอาสา พลังของการเปลี่ยนแปลงสังคม

Posted on 20 April 2011 by deksiam


Active Citizen: “พลเมืองอาสา พลังของการเปลี่ยนแปลงสังคม”

ฝึกการเป็นนักข่าวพลเมือง อาสาสมัครสื่อสารเรื่องราวดีดีสู่สังคม หรือ กิจกรรมส่งเสริมความเป็น พลเมืองโลก (Global citizen) ด้วยการมีส่วนร่วมกับการรณรงค์สิทธิมนุษยชนต่างๆจากทั่วโลก เป็นต้นเชิญร่วมเป็นหนึ่งใน “พลเมืองอาสา พลังของการเปลี่ยนแปลงสังคม” ด้วยกิจกรรมหลากหลายที่พร้อมให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมนับตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามา เริ่มต้นจาก สถานีพลเมือง (Citizen Station) สนุกกับการละเลงสีและความคิดลงบน “Idea Cubes” ฝากไอเดียแจ๋วๆของการเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคมไว้กับเรา

>> เรียนรู้นิทรรศการมีชีวิต พลเมืองอาสา: คืนคนที่ดลใจ เรียนรู้ชีวิตของบุคคลที่สร้างแรงบันดาลใจของการเป็นพลเมืองที่รับผิดชอบต่อสังคม

>> มีส่วนร่วมลงมือทำใน ฐานกิจกรรมพลเมืองอาสา ร่วมกิจกรรมอาสาสมัครง่ายๆที่สามารถลงมือทำได้ด้วยตนเองพร้อมครอบครัว ตลอดทั้ง 3 วัน ตั้งแต่เวลา 9.00 – 17.00 น. ในรูปแบบงานอาสาสมัครที่หลากหลาย อาทิ นิทานทำมือ สร้างสื่อการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลน , เดินทางต่อไปที่ ห้องเรียนรู้สู่ความเป็นพลเมือง (Citizen Workshops) เรียนรู้อย่างลงลึกและมีส่วนร่วมด้วยกระบวนการเวิร์คชอปต่างๆได้ด้วยตนเอง ผ่านการอบรม 5 กระบวนการ ดังนี้

เวิร์คชอปวิชาพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคม  โดย  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปลี่ยนแปลงห้องเรียนอย่างไรให้เชื่อมโยงกับสังคม ผู้เรียนก็สนุกและผู้สอนก็มีความสุข ให้ความรู้และแนวทางการจัดกระบวนการเรียนการสอนการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง (Civic Education) มุ่งสู่การพัฒนาบัณฑิตซึ่งมีสำนึกความเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (วันที่ 6 พ.ค. 54 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้อง วิปัสสนา 1 รับจำนวน 50 คน)

เวิร์คชอปสิทธิมนุษยชนศึกษา โดย องค์กรสิทธิมนุษยชนสากล (Amnesty International) ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจำวันอย่างไรที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขมากขึ้น ฝึกวิธีคิดและเรียนรู้ทำความเข้าใจสิทธิมนุษยชนผ่านกิจกรรมง่ายๆและสนุกสนาน ผ่านเกมส์กับกระบวนการกลุ่มย่อยหลากหลายรูปแบบ (วันที่ 6 พ.ค. 54 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง วิปัสสนา 1 รับจำนวน 50 คน)

เวิร์คชอปพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสา โดย กลุ่มแผลงฤทธิ์ เยาวชนคืออนาคต ทำอย่างไรที่จะสร้างเยาวชนที่สภาวะความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น จุดระเบิดแรงบันดาลใจจากภายในเพื่อสร้างเยาวชนจิตอาสาที่จะเป็นพลังสำคัญในอนาคต  กระบวนการพัฒนาแรงบันดาลใจและทักษะสำหรับเยาวชน ที่จะกลายเป็นแกนนำสำคัญในโรงเรียนและชุมชนต่อไป ด้วยกิจกรรมเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมและฝึกความคิดและการแก้ปัญหา ( วันที่ 7 พ.ค. 54 เวลา เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ ห้อง วิปัสสนา 1 รับจำนวน 50 คน)

เวิร์คชอปนักข่าวพลเมือง โดย สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย (TPBS) สังคมของข้อมูลและข่าวสารปัจจุบันเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยและรวดเร็ว การทำข่าวมิได้จำกัดวงแค่เฉพาะนักข่าวมืออาชีพอีกต่อไป แต่ประชาชนพลเมือง เริ่มมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารข้อมูลจากพื้นที่ในสถานการณ์วิกฤติต่างๆ เรียนรู้กระบวนการในการทำข่าวและการรายงานข่าวจากประสบการณ์ของนักข่าวพลเมือง จาก สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย (TPBS) (วันที่ 8 พ.ค. 54 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้อง วิปัสสนา 1 รับจำนวน 50 คน)

เวิร์คชอปการใช้เทคโนโลยีในงานพัฒนาสังคม  โดย สถาบัน Change Fusion ประโยชน์ของเทคโนโลยีมิได้เพียงความบันเทิงหรือการหาประโยชน์เพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถนำมาใช้ในการสร้างคุณภาพและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสังคมด้วย เรียนรู้ตัวอย่างและประสบการณ์จากผู้ที่ทำงานพัฒนาเทคโนโลยีในการงานพัฒนาสังคม ที่สร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นอย่างกว้างและสร้างสรรค์ (วันที่ ๘ พ.ค. ๕๔ เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้อง วิปัสสนา 1 รับจำนวน 50 คน)

จบท้ายด้วย สานเสวนาพลเมือง (Citizen Talks) รับฟังและแลกเปลี่ยนพูดคุย กับวงเสวนาน่าสนใจในประเด็นหลากหลายเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองในรูปแบบต่างๆ

“สร้างโรงเรียนให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้จิตอาสา” ร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ นักเรียน ผู้ปกครอง จากโครงการสุขจากการให้ ครู + เยาวชนจิตอาสาในสถานศึกษา มูลนิธิกระจกเงา  ใน วันที่ 7 พ.ค. 54   เวลา 13.00 –  15.00 น. ณ ห้องวิปัสนา 1

“วิชาสุดท้ายที่มหา’ลัย ไม่ได้สอน” ร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยน การเรียนในมหาวิทยาลัย สุดท้ายแล้วให้อะไรกับนักศึกษา อะไรคือสิ่งที่ขาดหายไปจากห้องเรียนในมหาวิทยาลัย ฟังการเสวนาจากวิทยากรผู้คลุกคลีและมีความสนใจเรื่องการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ อาทิ * ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล นักวิชาการ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , คุณสฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนยอดนิยม เจ้าของหนังสือ “วิชาสุดท้ายที่มหา’ลัยไม่ได้สอน, คุณนิรมล เมธีสุวกุล พีธีกร คนทำสื่อ ที่เน้นการสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชน ,วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล นักแสดง/พิธีกร/นักเขียนรุ่นใหม่ที่สนใจมิติทางสังคม เป็นต้น (*วิทยากรอยู่ระหว่างการติดต่อประสานงาน)      ในวันที่ 7  พ.ค. 54 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องวิปัสนา 1

“จะเป็นพลเมืองกันไปทำไม” ร่วมแลกเปลี่ยน พูดคุย วิพากษ์ บทบาทความเป็นพลเมืองกับสังคม พลเมืองแบบไหนที่สังคมต้องการ และเราจะอยู่ร่วมกันอย่างไรท่ามกลางพลเมืองที่แตกต่างและหลากหลาย กับผู้ร่วมเสวนา อาทิ * นภพัฒน์จักร อัตตนนท์ นักข่าวรุ่นใหม่จากเนชั่นทีวี   ฐาปนีย์ เอียดศรีชัย นักข่าวจากสถานีโทรทัศน์ช่อง 3   รัฐภูมิ อยู่พร้อม ผู้ก่อตั้งอาสาสมัคร 1500 ไมล์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยวิกฤติการน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี2553 เจตริน วรรธนะสิน  นักร้อง นักแสดง ที่สนใจการเป็นอาสาสมัครในการระดมความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ หลายเหตุการณ์ เช่น น้ำท่วมใหญ่ ปลายปี 2553 แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น  เป็นต้น (*วิทยากรอยู่ระหว่างการติดต่อประสานงาน) ในวันที่ 8 พ.ค. 54 เวลา 13.00 – 15.00  น. ณ โถงกลางชั้น 1

พบกันได้ที่ สวนโมกข์ (หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ) กรุงเทพฯ

รายละเอียดเพิ่มเติม  www.ThailandYouthFestival.com

Comments (0)

friend

Tags:

มาร่วมกันถักทอความเข้าใจด้วยศักยภาพแห่งการ “รับฟัง” ในโครงการ “เพื่อนรับฟังเพื่อความเข้าใจ”

Posted on 20 April 2011 by deksiam

ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่เสมือนว่า “เรา” (คนเล็กๆ คนนึง) จะทำสิ่งใดไม่ได้
จริงหรือ?….

ขอเชิญชวน “เพื่อน” ผู้สนใจ มาร่วมกันถักทอความเข้าใจด้วยศักยภาพแห่งการ “รับฟัง”
ให้ศักยภาพแห่งการ “รับฟัง” ได้เปิดเผย “ปัญญาแห่งสายสัมพันธ์” ในผู้คน ให้กลับมาเชื่อมโยงกัน
ให้ “การให้ความเข้าใจ” ได้เป็นประตูแห่งการเรียนรู้ที่จะ “อยู่ร่วม” ใน “ความขัดแย้ง” ของผู้คน
“เรา” จะทำบางสิ่ง
และ
“เรา” จะไม่ทำโดยลำพัง!

จากกลุ่ม ‘เพื่อนรับฟัง’ ซึ่งเป็นการรวมตัวของเพื่อนมิตรกลุ่มเล็กๆ เข้าไปรับฟังคู่ขัดแย้งในสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ปี 2553 สืบเนื่องมาเป็น โครงการเพื่อนรับฟังเพื่อความเข้าใจ ที่เปิดรับผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมเป็น “อาสาเพื่อนรับฟัง” ที่ จะใช้ศักยภาพการรับฟัง เข้าไปรับฟังผู้คนในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา 2 แห่ง คือ ชุมชนริมทางรถไฟคลองเตย และชุมชนหลังป้อมมหากาฬ

อาสาเพื่อนรับฟัง จะร่วมเรียนรู้ผ่าน
•  กระบวนการอบรม การแปลงเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict Transformation) ซึ่งเป็นการทำงานกับความขัดแย้งภายใต้ฐานคิดที่ว่า ความขัดแย้งนำไปสู่บางสิ่งบางอย่างที่เป็นธรรมขึ้นได้ โดยให้ความสำคัญกับมิติด้านความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขัดแย้งก่อนการแก้ไขความ ขัดแย้ง โดยทีมกระบวนกรจากศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ผสานกับ การสื่อสารอย่างสันติ (Non-violent Communication) การสื่อสารเพื่อแปรเปลี่ยนความขัดแย้งด้วยการรับฟัง โดยคุณกัญญา ลิขนสุทธิ์ และทีมงาน
•  การรับฟังในพื้นที่ปฏิบัติการในชุมชน  6 ครั้ง โดยในการลงพื้นที่ครั้งที่ 1 คุณกัญญา ลิขนสุทธ์จะเป็นผู้ดูแลการลงพื้นที่อย่างใกล้ชิด
•  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอาสาเพื่อนรับฟัง

ระยะเวลาดำเนินการ
พฤษภาคม – ธันวาคม 2554
ทางโครงการดูแลค่าใช้จ่ายการอบรม ค่าเดินทางและค่าอาหารอาสาสมัครระหว่างปฏิบัติการ

ที่ปรึกษาโครงการ
พระไพศาล วิสาโล, ประมวล เพ็งจันทร์, กัญญา ลิขนสุทธิ์

ประสานงานโครงการ
วริสรา กริชไกรวรรณ(โอ๋) พรเพ็ญ วงศ์กิจมโนชัย(เพนกวิน)
เบอร์ติดต่อ 081-9488185 อีเมล์ pusaidad@gmail.com และ penpenna@gmail.com

โครงการเพื่อนรับฟังเพื่อความเข้าใจ
เป็นโครงการหนึ่งภายใต้ชุดโครงการ การสื่อสารทางสุขภาวะเพื่อสร้างความเข้าใจในสังคม โดยเครือข่ายพุทธิกา
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

เมื่อคุณพร้อมจะเป็นเพื่อน เราจะมีเพื่อน ไปรับฟังร่วมกัน…
อาสาเพื่อนรับฟัง
“เรา” จะทำบางสิ่ง
และ “เรา” จะไม่ทำโดยลำพัง

(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในใบสมัคร “อาสาเพื่อนรับฟัง”)


*ข้อมูลชุมชน

1. ชุมชนริมทางรถไฟคลองเตย
เป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในพื้นที่เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว อาศัยอยู่เลียบทางรถไฟ มีผู้อยู่อาศัยประมาณ 300 หลังคาเรือน เป็นพื้นที่ทับซ้อนของการรถไฟแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งทางชุมชนได้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิในที่ดินของตนตลอดมา
ในการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งปี 2553 มีสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมการชุมนุมทั้งของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ(นปช.) และสถานการณ์ความรุนแรงกลางปี 2553 พื้นที่ของชุมชนอยู่ติดกับแนวเขตการเผายางในพื้นที่ถนนพระรวม 4 ได้รับผลกระทบในด้านความปลอดภัย ความไว้วางใจ ความตึงเครียดจากสถานการณ์สูง
2. ชุมชนหลังป้อมมหากาฬ
เป็นชุมชนเก่าที่อาศัยอยู่ริมกำแพงพระนคร ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ มีผู้อยู่อาศัยประมาณ 50-60 หลังคาเรือน เป็นพื้นที่ที่ทางกรุงเทพมหานครต้องการปรับภูมิทัศน์ให้กลายเป็นสวนหย่อม ซึ่งทางชุมชนได้ต่อสู้เรียกร้องสิทธิในที่ดินของตนตลอดมา
ในการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งปี 2553 มีสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมการชุมนุมทั้งของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย และฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติ(นปช.) และในการชุมนุมทางการเมืองทุกครั้งที่ใช้ถนนราชดำเนินเป็นพื้นที่การชุมนุม เวทีหลักของการชุมนุมจะตั้งอยู่ติดกับทางเข้าของชุมชน ส่งผลกระทบแก่ชุมชนในด้านความปลอดภัย ความสงบเงียบ ความไว้วางใจ และความตึงเครียด

รายละเอียดการรับสมัคร

 

 


Comments (0)

Advertise Here
Advertise Here