โครงการพัฒนาผู้นำอาสาในภาวะวิกฤติ (Front Line Leader in Crisis Institute)

บันทึกการปรึกษาหารือ ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาผู้นำอาสาในภาวะวิกฤต (Front Line Leader in Crisis Institute) เวทีประชาธิปไตยชุมชนเพื่อความมั่นคงของมนุษย์

11 พฤษภาคม 2554 เวลา 13.30 – 17.30 น.

ห้องประชุมสำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

—————————————

ฐานคิด เป้าหมาย : เพื่อยกระดับกระบวนการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมให้เข้มแข็งขึ้นภายในสิ้นปีนี้

เน้นไปที่ 1.กลุ่มคนที่มีพลังและมีผลงานประจักษ์ คนที่พึ่งตนเองได้ มีอิสระทางปัญญา พร้อมทุกเมื่อที่จะเอื้อมมือไปช่วยคนอื่น โดยไม่หวังผลตอบแทน อดไม่ได้ที่จะทำตามหัวใจเรียกร้อง ห้ามก็จะทำ ไม่สั่งก็จะทำ และค้นหาวิธีทำกันเอง และ 2.ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของทุกภาคส่วน แต่ยังไม่มีใครลุกขึ้นมาเป็นเจ้าภาพหลักอย่างเป็นทางการในการเปิดพื้นที่ในพวกเขาทำงานอย่างเชื่อมโยงทั้งระบบ นั่นคือกลุ่มผู้นำอาสาในการรับมือภัยพิบัติ

วิธีการ เอื้ออำนวยให้คนเหล่านี้สามารถรวมตัวกันได้มากกว่าเดิม เหนียวแน่นกว่าเดิม แข็งแรงกว่าเดิม สามารถพัฒนาเป็นแกนนำประสานทุกระดับ รวมถึงพัฒนาศักยภาพคนที่มีใจ คนที่ยังลังเล คนที่ยังไม่มั่นใจ คนที่งูๆปลาๆ ให้มาเป็นผู้นำอาสาที่เข้มแข็งและมีจำนวนมากพอที่จะรับมือกับความโกลาหลที่ไม่อาจคาดเดาได้

ข้อสรุปจากการปรึกษาหารือ

วัตถุประสงค์

1. “ก่อตัวองค์กรภาคประชาสังคมที่ใกล้ชิดภาครัฐ” ผนึกกำลังคนทำงานเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ ระดมความคิด ระดมหัวใจหาวิถีใหม่ของการทำงานเชิงรุกในการจัดการภัยพิบัติของประเทศล่วงหน้า

2.ค้นหา เชื้อเชิญ รวบรวมผู้ที่เป็นผู้นำอาสาเข้ามาเรียนรู้ร่วมกันไม่น้อยกว่า 1,600 คน

3.ระดมความคิดเห็นและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการรับมือภัยพิบัติ

4.ฝึกปฏิบัติเพื่อเรียกร้องให้ตนเองมั่นใจในการรับมือฯและพร้อมในการช่วยเหลือชุมชน

5.พัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาล, หน่วยงาน, องค์กรปกครองท้องถิ่น, องค์กรอิสระ, องค์กรเอกชน,องค์กรสาธารณะต่างๆ (จะไม่ใช้วิธีกดดันใดๆ แต่เป็นไปตามความสมัครใจของแต่ละองค์กรในการหยิบไปใช้)

6.เกิดการพัฒนาจากกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย กลายเป็นเครือข่ายที่ทรงพลังและเป็นความหวังหนึ่งของสังคมในระยะยาว

ทีมวิทยากร 2 ส่วน

1. ทีมผู้ที่ชำนาญผ่านประสบการณ์ของผู้นำอาสา ทำหน้าที่นำร่องและประคับประครองในส่วนขององค์ความรู้ เนื้อหาเชิงวิชาการและเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายเข้มแข็ง (พี่ปิยะชีพ/พี่รัฐภูมิ/อ.บวร ช่วย พิจารณา)

2.ทีมวิทยากรกระบวนการที่จะช่วยให้ทุกคนในเวทีมีส่วนร่วมสูงสุดและเกิดการจับไม้จูงมือไปทำงานต่อไปหลังจบเวที (หมอแมน พิจารณา)

ผู้เข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ มอบให้ พี่ปิยะชีพ/พี่รัฐภูมิ/อ.บวร พิจารณาและส่งรายชื่อก่อน 17 พค.นี้ ส่วนที่เหลือ ทาง พม.จะประสาน

หมายเหตุ ต้องเป็นคนที่ “ใช่” เท่านั้น) จากกลุ่มพลังต่างๆ เช่น Social Network มูลนิธิกู้ชีพ อาสาสมัครประชาสังคม CSR สภาเด็กและเยาวชน พอช. นักศึกษา เคเบิลทีวี/วิทยุชุมชน อปท.-อปพร.(จุดเสี่ยง) กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน (จุดเสี่ยง) สายด่วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปภ. ทสจ. ศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ ทหาร ตำรวจ  กองบรรเทาสาธารณภัย สภากาชาดไทย ศูนย์นเรนทร ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เครือข่ายเพื่อนเตือนภัย(Website)

เอกสารประกอบการประชุม ถ้าใครมีเอกสาร โปรดส่งมาที่กองเลขาฯ (พม.)

Mail Group ; fllci@yahoogroups.com FB : เครือข่ายรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ภาคประชาชน PS-EMC

รายละเอียดพิ่มเติม [button link=”http://xa.yimg.com/kq/groups/20333571/1488722224/name/2.doc”]Download [/button]

แผนที่